สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเอกสถิติ ได้รับการคัดเลือกผลงานเพื่อจัดทำหนังสือคู่มือกิจกรรมมหาวิทยาลัย ประเทศไทย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช 
ขอแสดงความยินดีกับ สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเอกสถิติ
 ได้รับการคัดเลือกผลงานเพื่อจัดทำหนังสือคู่มือกิจกรรมมหาวิทยาลัย ประเทศไทย สนุกวิทย์ ปลูกแนวคิดวิทยาศาสตร์สู่เยาวชน เล่มที่ 2
ผลงานเรื่อง กิจกรรมการทดลอง นักพยากรณ์น้อย

สืบเนื่องจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ได้รับการสนับสนุนงบโครงการมหาวิทยาลัยเด็ก จากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาโดยตลอด ต่อมาในปี 2565 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้คัดเลือกผลงานเพื่อจัดทำหนังสือคู่มือกิจกรรมมหาวิทยาลัย ประเทศไทย สนุกวิทย์ ปลูกแนวคิดวิทยาศาสตร์สู่เยาวชน เล่มที่ 2 เพื่อรวบรวมกิจกรรมการทดลองที่สนุกและมีประโยชน์ เผยแพร่แก่ผู้สนใจนำไปใช้จัดกิจกรรมให้แก่นักเรียนได้ทั้งในและนอกห้องเรียน  ซึ่งคณะวิทย์ฯ เป็น 1 ใน 21 หน่วยงาน ที่ได้รับการคัดเลือกให้กิจกรรมการทดลอง เรื่อง “นักพยากรณ์น้อย” จัดทำหนังสือคู่มือกิจกรรมมหาวิทยาลัย ประเทศไทย สนุกวิทย์ ปลูกแนวคิดวิทยาศาสตร์สู่เยาวชน เล่มที่ 2  
กิจกรรมการทดลองดังกล่าวจัดทำขึ้นโดย สาขาวิชาคณิตศาสตร์ วิชาเอกสถิติ ซึ่งออกแบบกิจกรรมโดย ผศ.ดร.ขนิษฐา กีรติภัทรกาญจน์ รองคณบดี และนางสาวชลดา พุทธิพงษ์ นักวิชาการศึกษา 
การทดลองดังกล่าว เป็นการสมมติสถานการณ์ว่าในทุก ๆ ปี แต่ละหมู่บ้านมีแนวโน้มจะเกิดภัยธรรมชาติแตกต่างกันไปตามภูมิประเทศของหมู่บ้านนั้น ๆ เจ้าเมืองจึงเชิญตัวแทนหมู่บ้านทุกหมู่บ้านมาประชุมเพื่อร่วมกันวิเคราะห์ภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตจากข้อมูลที่มีอยู่ผ่านการทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อจะได้ร่วมกันคิดหาวิธีการเตรียมการ ป้องกันและรับมือกับภัยธรรมชาติที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น โดยเจ้าเมืองให้แต่ละหมู่บ้าน คิดหาวิธีการวัดปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วง 24 ชั่วโมง  หาวัสดุอุปกรณ์ในหมู่บ้านที่ใช้เป็นภาชนะรองรับน้ำฝนเพื่อนำมาคำนวณหาปริมาณน้ำฝนที่ตกในช่วง 24 ชั่วโมง ได้อย่างเหมาะสม วัดอุณหภูมิของสภาพอากาศของหมู่บ้าน 5 ครั้ง และหาค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิ  คาดคะเนว่าหมู่บ้านจะเกิดภัยธรรมชาติใดโดยใช้การแปลผลจากกราฟเส้นและจะต้องเตรียมการ ป้องกันและรับมือสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นได้อย่างไรบ้าง เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก ๆ

16/03/2022 เปิดอ่าน 288 ครั้ง