ประวัติความเป็นมา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขามหาชัย หมู่ที่ 4 ตำบลท่างิ้ว อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช ห่างจากตัวเมืองนครศรีธรรมราช ตามถนนนคร-นบพิตำ เป็นระยะทาง 13 กิโลเมตร

ปีการศึกษา 2500 เมื่อ 1 มิถุนายน 2550 ก่อตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช เปิดสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ป.กศ.)

ปีการศึกษา 2512 เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2512 เปลี่ยนจากโรงเรียนฝึกหัดครูนครศรีธรรมราช เป็นวิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช จัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง

ปีการศึกษา 2513 ก่อตั้งหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ เปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ในระดับ ป.กศ. และ ป.กศ. ชั้นสูง(ป.กศ.ชั้นสูง)

ปีการศึกษา 2517 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชเป็น 1 ใน 7 แห่งที่เปิดสอนวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปเพียงสาขาวิชาเดียว

ปีการศึกษา 2518 ก่อนปี พ.ศ. 2518 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีฐานะเป็นหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ เปิดสอนวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป เคมี ชีววิทยา และฟิสิกส์ ในระดับ ปกศ. และปกศ.ชั้นสูง สำหรับวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไปเปิดสอนครั้งแรกปี พ.ศ. 2513 ต่อมาปี พ.ศ. 2517 เปิดสอนระดับปริญญาตรี ครุศาสตรบัณทิตวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ปีการศึกษา 2518 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พุทธศักราช 2518 โดยที่วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้มีการแบ่งสายการบริหารทางวิชาการเป็นคณะวิชา คณะวิชาวิทยาศาสตร์จึงจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้ มีหน้าที่ผลิตครูวิทยาศาสตร์ถึงระดับปริญญาตรี ทำการวิจัยส่งเสริมอบรมและเพิ่มวิทยฐานะของครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางวิชาการแก่สังคม รวมทั้งมีการแบ่งสายงานบริหารในคณะวิชาเป็นสำนักงานคณะวิชาและภาควิชา 9 ภาควิชา คือ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ คหกรรมศาสตร์ เคมี ชีววิทยา พลศึกษาและนันทนาการ ฟิสิกส์สุขศึกษา และอุตสาหกรรมศิลป์ ผู้บริหารหน่วยงานในคณะเรียกว่าหัวหน้าคณะวิชา และหัวหน้าภาควิชา สาขาวิชาที่เปิดสอนเมื่อเริ่มตั้งคณะวิชา นอกจากระดับประกาศนียบัตร (ป.กศ.) แล้วมีการเปิดสอนระดับประกาศนียบัตรขั้นสูง (ป.กศ.ชั้นสูง) วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คณิตศาสตร์ สุขศึกษา พลศึกษา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมศิลป์คหกรรมศาสตร์ และเปิดสอนระดับปริญญาตรีหลังอนุปริญญาคือ วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป เปิดสอนวิชาเอกเกษตรศาสตร์เมื่อปีการศึกษา 2521 และในปี 2524 เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตร 4 ปี วิชาเอกเกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ ชีววิทยา พลศึกษา ฟิสิกส์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ปีการศึกษา 2521 วิทยาลัยได้เปิดโครงการอบรมครูและบุคลากรประจำการ (อ.คป.)เพื่อเป็นการส่งเสริมวิชาชีพและวิทยฐานะของครู อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ทางการศึกษาตามหน้าที่ใน พ.ร.บ. วิทยาลัยครูร่วมกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จนถึงปีการศึกษา 2529คณะวิชาวิทยาศาสตร์ได้เปิดสอน อ.คป. สาขาวิชาวิชาการศึกษาหลักสูตร 2 ปี หลังอนุปริญญา วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป

ปีการศึกษา 2527 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชในฐานะที่ได้รับมอบหมายภาระหน้าที่จากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็นวิทยาลัยชุมชนตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะกระจายโอกาสทางการศึกษาระดับสูงออกสู่ประชาชน และเร่งรัดจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาและสร้างกำลังคนที่มีความรู้ความสามารถในสาขาวิชาวิชาชีพต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่น คณะวิชาวิทยาศาสตร์จึงได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพ (ป.ทอ.) วิชาเอกวิศวกรรมและการก่อสร้างและในปีเดียวกันนี้ได้มีพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 กำหนดให้วิทยาลัยครูเปิดสอนสาขาวิชาวิชาการอื่นนอกจากสาขาวิชาวิชาการศึกษาได้ จึงโอนนักศึกษาวิทยาลัยชุมชนในวิทยาลัยครูเข้าเป็นนักศึกษาวิทยาลัยครูและปรับรายวิชาของหลักสูตรประกาศนียบัตรเทคนิคการอาชีพเข้าเป็นหลักสูตรอนุปริญญา วิชาเอกพืชศาสตร์และวิชาเอกการก่อสร้าง ในปีการศึกษา 2528 และเปิดสอนวิชาเอกเซรามิกส์ขึ้นในปีนี้ด้วย และเมื่อมีการแบ่งภารกิจในการผลิตบัณฑิตเป็นสาขาวิชาที่ชัดเจนขึ้น ภาควิชาพลศึกษาและนันทนาการจึงต้องย้ายไปสังกัดคณะวิชาครุศาสตร์ ในปีการศึกษา 2528ด้วยเช่นกัน

ปีการศึกษา 2529 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราชได้เปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) คณะวิชาวิทยาศาสตร์ได้เปิดสอนวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป สุขศึกษา คหกรรม และอุตสาหกรรมศิลป์ วิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาตามโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศ.บป.) ซึ่งพัฒนามาจากโครงการ อ.คป. โดยเปิดสอนทั้งสาขาวิชาวิชาการศึกษาและสาขาวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดสอนสาขาวิชาวิชาการศึกษาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป คหกรรมศาสตร์ อุตสาหกรรมศิลป์ สุขศึกษาและสาขาวิชาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเอกเทคโนโลยีการเกษตร ระดับปริญญาตรีหลังอนุปริญญา และวิชาเอกเซรามิกส์ ระดับอนุปริญญา

ปีการศึกษา 2531 คณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชาเอกการอาหาร และวิชาเอกเทคโนโลยีการเกษตร ระดับอนุปริญญา และวิชาเอกสุขศึกษาและวิชาเอกเกษตรศาสตร์ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี

ปีการศึกษา 2533 ได้ก่อตั้งภาควิชาคอมพิวเตอร์และเปิดสอนโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ระดับอนุปริญญาเป็นปีแรก ต่อมาในปีการศึกษา 2537 ภาควิชาคอมพิวเตอร์เปิดสอนโปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี และเปิดสอนโปรแกรมวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) ในสาขาวิชาวิชาการศึกษาในปี 2539

ปีการศึกษา 2534 เปิดสอนโปรแกรมวิชาสุขศึกษาระดับอนุปริญญา ปีการศึกษา 2536 เปิดสอนโปรแกรมวิชาเคมีปฏิบัติ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำระดับอนุปริญญา ปีการศึกษา 2538 วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช เปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พุทธศักราช2538 คณะวิชาเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้บริหารคณะมีตำแหน่งเป็นคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2539 ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แยกไปตั้งคณะใหม่เป็นโครงการจัดตั้งคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แต่ยังได้รับการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินด้านการจัดการศึกษาวิทยาศาสตร์ร่วมกันกับคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ปีการศึกษา 2542 สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราชได้ประกาศให้คณะวิชาบริหารแบบโปรแกรมวิชา โดยยกเลิกภาควิชา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้จัดโครงสร้างการบริหารงานภายในคณะเป็นคณะกรรมการบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งประกอบด้วยคณบดีเป็นประธานกรรมการรองคณบดี ตัวแทนสาขาวิชาจาก 8 สาขาวิชา คือ เคมี ชีววิทยา ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์และสถิติ วิทยาศาสตร์สุขภาพ คหกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ เกษตรศาสตร์ เป็นกรรมการ รองคณบดีฝ่ายบริหารเป็นกรรมการและเลขานุการปีการศึกษา 2542 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ทำหน้าที่จัดการศึกษาสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ 12 โปรแกรมวิชาคือ ระดับปริญญาตรี มี 9 โปรแกรมวิชาได้แก่เกษตรศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สถิติประยุกต์ วิทยาศาสตร์การกีฬา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เคมี ชีววิทยาประยุกต์ คหกรรมศาสตร์ทั่วไป วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร ระดับปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) มี 1 โปรแกรมวิชา คือ เทคโนโลยีการเกษตร และระดับอนุปริญญา มี 2 โปรแกรมวิชา คือ การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และเคมีปฏิบัติ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่จัดการศึกษาสาขาวิชาวิชาการศึกษาร่วมกับคณะครุศาสตร์ จำนวน 7 โปรแกรมวิชา คือ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป เคมี ฟิสิกส์ คหกรรมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา และชีววิทยา ปีการศึกษา 2545 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มอีกหนึ่งโปรแกรมวิชา

ปีการศึกษา 2547 สถาบันราชภัฏได้สถาปนาเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ ตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ  พุทธศักราช 2547 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดโปรแกรมวิชาฟิสิกส์ และโปรแกรมวิชาสาธารณสุขชุมชน รวมเป็น 15 โปรแกรมวิชา และในปีการศึกษา 2549 กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศกฎกระทรวงให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มี 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณบดี ภาควิชาวิทยาศาสตร์ และภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์

ปีการศึกษา 2550 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน 12 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติประยุกต์คหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ)เคมีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารวิทยาศาสตร์สุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพเด็ก) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการคอมพิวเตอร์คณิตศาสตร์เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์วิทยาการพัฒนาทรัพยากรชีวภาพและจุลชีววิทยา

ปีการศึกษา 2551 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอนระดับมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา และเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 12 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติประยุกต์คหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) เคมี วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์สุขภาพ (การส่งเสริมสุขภาพเด็ก) วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาการพัฒนาทรัพยากรชีวภาพและจุลชีววิทยา

ปีการศึกษา 2554 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตให้เป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2552 และสอดคล้องกับมาตรฐานวิชาการและมาตรฐานวิชาชีพของแต่ละหลักสูตรหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต(ปรับปรุงพ.ศ. 2554)มี 7 สาขาวิชา คือ เคมี ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อาหารและโภชนาการสถิติสารสนเทศศาสตร์และได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ 1 หลักสูตร คือหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชาวิชาสาธารณสุขศาสตร์

และในปีการศึกษาเดียวกัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนระดับมหาบัณฑิต หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษาและร่วมกับคณะครุศาสตร์เปิดสอนหลักสูตรระดับมหาบัณฑิต2 หลักสูตร ได้แก่ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และสาขาวิชาคณิตศาสตร์ และเปิดหลักสูตรในระดับปริญญาตรี 10 สาขาวิชาวิชา ได้แก่ สาขาวิชาสถิติประยุกต์ อาหารและโภชนาการ เคมี วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ จุลชีววิทยา และสาธารณสุขศาสตร์

ปีการศึกษา 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ปรับปรุงหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ พ.ศ. 2554 จำนวน 5 สาขาวิชาคือชีววิทยา ฟิสิกส์เคมีคณิตศาสตร์และเกษตรศาสตร์และปีการศึกษา 2556 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรในระดับปริญญาตรี14 สาขาวิชาได้แก่สาขาวิชาเคมีสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาจุลชีววิทยา สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสาขาวิชาสถิติสารสนเทศศาสตร์สาขาวิชาสถิติประยุกต์สาขาวิชาคณิตศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สาขาวิชาอาหารและโภชนาการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ (อาหารและโภชนาการ) และสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และเปิดสอนระดับมหาบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ปีการศึกษา 2557 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตในระดับปริญญาตรี10 สาขาวิชาได้แก่สาขาวิชาเคมีสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสาขาวิชาสถิติสารสนเทศศาสตร์สาขาวิชาสถิติประยุกต์สาขาวิชาคณิตศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สาขาวิชาอาหารและโภชนาการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม แต่หากหลักสูตรมีนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ไม่ถึง 10 คน มหาวิทยาลัยจะปิดการเปิดสอนในปีนี้

ปีการศึกษา 2558 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี จำนวน11 สาขาวิชาได้แก่สาขาวิชาเคมีสาขาวิชาฟิสิกส์ สาขาวิชาชีววิทยา สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศสาขาวิชาสถิติสารสนเทศศาสตร์สาขาวิชาคณิตศาสตร์สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์สาขาวิชาอาหารและโภชนาการสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และสาขาวิชาเกษตรศาสตร์และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต จำนวน 1 สาขาวิชา คือสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ จำนวน 11 สาขาวิชา ได้แก่ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์  เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สาธารณสุขศาสตร์ สถิติสารสนเทศศาสตร์ และภาคพิเศษ มี 1 สาขาวิชาคือ สาธารณสุขศาสตร์

                นอกจากนี้ปีการศึกษา 2559  มีการปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับพ.ศ. 2558 และแนวทางการ Reprofile ของมหาวิทยาลัยที่คำนึงถึงศักยภาพความเป็นเลิศของสถาบันให้สามารถผลิตบัณฑิตงานวิจัยองค์ความรู้ตลอดจนสร้างสรรค์ผลงานและนวัตกรรมเพื่อรองรับความท้าทายในอนาคตโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสนองตอบความต้องการของท้องถิ่นและประเทศบูรณาการความร่วมมือกับการศึกษาทุกระดับทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งนี้เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยหรือ “ประเทศไทย 4.0” ซึ่งเน้นการพัฒนาวิทยาการความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาแล้วต่อยอดในกลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายซึ่งประกอบด้วย 1) กลุ่มอาหาร เกษตร และเทคโนโลยีชีวภาพ เช่น สร้างเส้นทางธุรกิจใหม่ (New Startups) ด้านเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีอาหาร เป็นต้น 2) กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เช่น พัฒนาเทคโนโลยีสุขภาพ เทคโนโลยีการแพทย์ สปา เป็นต้น 3) กลุ่มเครื่องมือ อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เช่น เทคโนโลยีหุ่นยนต์ เป็นต้น 4) กลุ่มดิจิตอล เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตที่เชื่อมต่อและบังคับอุปกรณ์ต่างๆ ปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีสมองกลฝังตัว เช่น เทคโนโลยีด้านการเงิน อุปกรณ์เชื่อมต่อออนไลน์โดยไม่ต้องใช้คน เทคโนโลยีการศึกษา อี–มาร์เก็ตเพลส อี–คอมเมิร์ซ เป็นต้น 5) กลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ วัฒนธรรม และบริการที่มีมูลค่าสูง เช่น เทคโนโลยีการออกแบบ ธุรกิจไลฟ์สไตล์ เทคโนโลยีการท่องเที่ยว การเพิ่มประสิทธิภาพการบริการ เป็นต้น

                สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2556 ได้ปรับปรุงหลักสูตร และได้เปิดรับนักศึกษา     แต่นักศึกษาที่เข้าเรียนมีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่กำหนด จำนวนนักศึกษาต้องไม่น้อยกว่า 10 คน จึงเปิดทำการเรียนการสอนได้ มหาวิทยาลัยให้ทางหลักสูตรหยุดทำการเรียนการสอนกับนักศึกษาใหม่  ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 มีนักศึกษาเก่าที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา 1 คน ซึ่งผ่านการสอบปากเปล่าและเผยแพร่วิทยานิพนธ์แล้ว กำลังอยู่ระหว่างการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ทางหลักสูตรจึงได้ทำหนังสือขอปิดหลักสูตรและเป็นไปตามกลไกการปิดหลักสูตร โดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผลการพิจารณาให้ปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตได้

ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต ระดับปริญญาตรี ภาคการศึกษาปกติ จำนวน 10 สาขาวิชา ได้แก่ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สาธารณสุขศาสตร์ สถิติสารสนเทศศาสตร์ และภาคพิเศษ มี 1 สาขาวิชาคือ สาธารณสุขศาสตร์ สำหรับหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ในปีการศึกษา 2556 ได้ปรับปรุงหลักสูตร และได้เปิดรับนักศึกษา แต่นักศึกษาที่เข้าเรียนมีจำนวนน้อย ไม่เป็นไปตามประกาศของมหาวิทยาลัยที่กำหนด จำนวนนักศึกษาต้องไม่น้อยกว่า 10 คน จึงเปิดทำการเรียนการสอนได้ มหาวิทยาลัยให้ทางหลักสูตรหยุดทำการเรียนการสอนกับนักศึกษาใหม่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 มีนักศึกษาเก่าที่ยังไม่สำเร็จการศึกษา 1 คน ซึ่งผ่านการสอบปากเปล่าและเผยแพร่วิทยานิพนธ์แล้ว กำลังอยู่ระหว่างการส่งเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ ทางหลักสูตรจึงได้ทำหนังสือขอปิดหลักสูตรและเป็นไปตามกลไกการปิดหลักสูตร โดยผ่าน  ความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งผลการพิจารณาให้ปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตได้ ในปีการศึกษา 2559 

ปีการศึกษา 2560 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา 2558 ภาคการศึกษาปกติ จำนวน 9 สาขาวิชา ได้แก่ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ และสาธารณสุขศาสตร์

ปีการศึกษา 2561 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตที่ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา 2558 ภาคการศึกษาปกติ จำนวน 10 สาขาวิชา ได้แก่ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ และสาธารณสุขศาสตร์ ในปีการศึกษา 2562 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และหลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ เพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักสูตรภาคการศึกษาปกติ

ปีการศึกษา 2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้เปิดสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิตภาคการศึกษาปกติ จำนวน 11 สาขาวิชา ได้แก่ เกษตรศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี ชีววิทยา เทคโนโลยีสารสนเทศ ฟิสิกส์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ สาธารณสุขศาสตร์ และนวัตกรรมชีวภาพ ภาคพิเศษ มี 1 สาขาวิชาคือ สาธารณสุขศาสตร์ และเปิดสอนในระดับบัณฑิตศึกษา ประกอบด้วยหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์ และหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสร้างสรรค์

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยมหลัก

ปรัชญา
คิดเป็น เด่นนวัตกรรม นำเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาองค์กรและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
วิสัยทัศน์
ผู้นำด้านการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นเลิศงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมบนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลเพื่อการพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
พันธกิจ
1. ผลิตบัณฑิตด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม ให้มีคุณภาพ มีทัศนคติที่ดี เป็นพลเมืองดีในสังคม มีสมรรถนะตามความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต และมีทักษะของการเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงพร้อมตอบสนองต่อยุคชีวิตวิถีใหม่
2. วิจัยสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
3. พัฒนาท้องถิ่นด้วยการบูรณาการศาสตร์ การถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และน้อมนำแนวพระราชดำริสู่การปฏิบัติ
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนให้สามารถพึ่งตนเองได้
5. บริหารจัดการทรัพยากรภายในคณะอย่างมีประสิทธิภาพด้วยหลักธรรมาภิบาล พร้อมรองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
ค่านิยมหลัก
SCT คือ จิตวิญญาณชาววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
S = Science Thinking หมายถึง กระบวนการคิดอย่างวิทยาศาสตร์
C = Community Based Local Development หมายถึง การพัฒนาท้องถิ่นโดยใช้ชุมชนเป็นหลัก
T = Technology and Innovation หมายถึง พัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สมรรถนะหลัก เอกลักษณ์ อัตลักษณ์ นโยบาย

สมรรถนะหลัก
1. การมีแรงจูงใจมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Achievement Motivation)
2. การบริการที่ดี (Service Mind)
3. ความเข้าใจองค์กรและระบบราชการ (Organizational Awareness)
4. การยึดมั่นในความถูกต้องชอบธรรม (Integrity)
5. การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
เอกลักษณ์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นคณะเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เน้นบริการวิชาการ สืบสานทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
อัตลักษณ์
บัณฑิตคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นบัณฑิตนักคิด นักปฏิบัติ มีจิตสาธารณะ
นโยบาย

1. การรักการเรียนรู้ ก้าวทันโลก และมีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
2. การสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรที่มีคุณภาพ
3. การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและสากลเป็นฐานในการพัฒนา
4. การมีคุณธรรม จริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม โลก และสิ่งแวดล้อม

ตราสัญลักษณ์ สีประจำคณะ ดอกไม้ประจำคณะ

ตราสัญลักษณ์
สีประจำคณะ
สีเหลือง
ดอกไม้ประจำคณะ


โครงสร้างการบริหารงาน

คณะกรรมการประจำคณะ

ทำเนียบผู้บริหาร

ผศ.ดร.ชวัลรัตน์  ศรีนวลปาน
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2564-ปัจจุบัน

รศ.ดร.ปานจิต  มุสิก    
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2560-2563

ผศ.ศุภมาตร  อิสสระพันธุ์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2556-2560

ผศ.ดร.ชัยภรณ์  แก้วอ่อน
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2552-2556

ผศ.ดร.เอมอร สิทธิรักษ์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2546-2552

ผศ.ดร.หัสชัย สิทธิรักษ์
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2542-2546

อาจารย์ ดร.สาลี่  บัวลำใย
คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2538-2542

ผศ.ประดิษฐ์  โมระมัติ
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2535-2538

อาจารย์ดำรง ศรีใส
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2531-2535

ผศ.วิเชียร  แก้วบุญส่ง
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรงตำแหน่ง 2525-2531

อาจารย์สุคนธ์ พิทักษ์วงศ์
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์

ดำรงตำแหน่ง 2524-2525

รศ.อมรา ทีปะปาล          
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์

ดำรงตำแหน่ง 2521-2524

ผศ.ดร.ประเสริฐ  จริยานุกูล
หัวหน้าคณะวิชาวิทยาศาสตร์

ดำรงตำแหน่ง 2518-2521